โครงการ โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต ปี 2567

ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต ปี 2567
หลักการและเหตุผล
เทศบาลนครภูเก็ต ได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ตขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 ภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนรอบรู้ สู่สุขภาพดี ปี 2575” และมีค่านิยมร่วมของกองทุนฯ คือ “ร่วมสร้างสุขภาพให้ ชาวภูเก็ตมีสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการของชุมชนในระดับท้องถิ่น เน้นการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ การดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงและให้กองทุนฯ สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการดำเนินงานตลอดปี 2566 ที่ผ่านมา มีโครงการที่เสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนจำนวน 87 โครงการ คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้จัดประชุมรวม 24 ครั้ง รวมอนุมัติงบประมาณทั้ง 4 ประเภท จำนวน 9,495,175 บาท จากการประเมินตนเองประจำปี 2566 อยู่ในระดับ A+ (ต่อเนื่อง 14 ปีซ้อน) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีประสิทธิภาพสูง การดำเนินงานเพื่อเกิดการพัฒนากองทุนอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี ประกอบด้วยการมีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รวมทั้งเครื่องมือในการการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อปัจจัยซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานชองกองทุนให้บรรลุวัตถุประสงค์และผ่านเกณฑ์การประเมินตนเองของกองทุนอย่างต่อเนื่องและการปฏิบัติงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นประสิทธิผล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานกองทุนฯให้กับประชาชน
3. เพื่อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของกองทุนฯ
4. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ คณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนคร
ตัวชี้วัด
1. กองทุนผ่านการประเมินการบริหารจัดการกองทุน ไม่น้อยกว่า 90 คะแนน(จากคะแนนเต็ม 100คะแนน)
2. ความพึงพอใจและการรับรู้ข่าวสารของกองทุนฯ มีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 8 คะแนน (เต็ม 10 คะแนน)
3. มีการประชาสัมพันธ์กองทุนฯ อย่างน้อย 3 ช่องทาง
4. จำนวนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่กองเลขานุการกองทุนฯ จัดหาเพิ่มเติมในการปฏิบัติงาน
5. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
กลุ่มเป้าหมาย
7.กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(ตามแบบจัดทำโครงการของ สปสช.)
7.11. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10 (4)]
1. ค่าใช้จ่ายในการประชุม
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
3. ค่าใช้จ่ายในการอบรม/พัฒนาศักยภาพ
4. ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์
5. ค่าใช้จ่ายอื่น (ระบุ) ...........................................................................................................
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำและเสนอแผนงาน/โครงการให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ตเห็นชอบ
2. กองเลขานุการกองทุน ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
3. ดำเนินการงานแผน
กิจกรรมที่ 1 จ้างเหมาบริการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกองทุนฯ
1.1 การจ้างเหมาบริการ (ชั่วคราว) ของกองทุนฯ
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดขอบเขตงาน กรอบการจ้างให้เป็นไปตามภารกิจของกองทุน
- กำหนดคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ของผู้รับจ้างที่จะให้ดำเนินการจ้าง
- กำหนดรูปแบบวิธีการจ้าง กรอบอัตราเงินสำหรับการจ้าง
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำหรับตรวจรับมอบผลงานปฏิบัติงานหรือการประเมินผลการปฏิบัติงานตามสัญญาหรือข้อตกลงการจ้าง
- จัดจ้างเหมาบริการ (ชั่วคราว)ตามรูปแบบที่กำหนด
- ผู้รับจ้างที่ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการตรวจรับมอบผลงานปฏิบัติงานหรือการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ตามข้อกำหนดในสัญญาจ้าง
- เบิกจ่ายค่าจ้างให้กับผู้รับจ้างตามอัตราที่กำหนดในสัญญาจ้าง
กิจกรรมที่ 2ประชุมคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/อนุกรรมการ/คณะทำงาน
2.1 ประชุมคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/อนุกรรมการ/คณะทำงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ
- ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน
- จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
- จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
- จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
- จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี
- สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน
2.2บริหารจัดการสำนักงาน
- ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน
2.3 จัดทำสรุปรายงานการเงินประจำปี/ผลการดำเนินงาน และ/หรือถอดบทเรียนกองทุน
2.4ประเมินผลการรับรู้การดำเนินการ ระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อกองทุนและประเมินตนเองประจำปี
2.5สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตลอดปี 2567
กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์กองทุนฯ
3.1ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ด้านประชาสัมพันธ์
3.2 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต
3.3ประชาสัมพันธ์ตามแผนโครงการ
3.4ติดป้ายประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในชุมชน 32 ชุมชน และ 4 เขต
3.5 จัดทำคลิปวีดีโอ วีดีทัศน์ ประชาสัมพันธ์ กองทุนฯ ผ่านทางช่องทางต่างๆ
3.6 จัดทำสื่อความรู้ต่างๆ เช่น จุลสาร ไวนิล ฯลฯ
3.7 ปรังปรุงเว็บไซต์ กองทุนฯ
3.8 ลงถ่ายทำคลิปกลุ่มผู้ขอรับงบประมาณกองทุนฯและประชาสัมพันธ์ทางช่องทางอื่นๆ
3.9 จัดทำแบบประเมินการรับรู้และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ
3.10 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมประเมินวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนฯ หลังการประชาสัมพันธ์
3.11 สรุปและรายงานผลโครงการ
กิจกรรมที่ 4 จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ
4.1 สำรวจและประเมินความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการบริหารจัดการกองทุนฯ
4.2 เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
4.3 แต่งตั้งคณะกรรมการ
4.4 จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์จัดทำทะเบียนพัสดุ จัดเก็บเครื่องมือและบำรุงรักษา และจัดทำทะเบียนคุมการใช้งานครุภัณฑ์
4.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 5พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ
5.1พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดแผนการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เข้าร่วมเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ
- หน่วยงานผู้จัดส่งหนังสือเชิญเข้ารับการอบรม/ประชุมพัฒนาศักยภาพ
- กองเลขานุการกองทุนขอความเห็นต่อประธานกองทุน และจัดทำคำสั่งเดินทางไปราชการ
- ส่งคณะกรรมการ ฯลฯ เข้ารับการอบรม/ประชุมพัฒนาศักยภาพ
-ผู้เข้ารับการอบรม/ประชุมพัฒนาศักยภาพ
- สรุปรายงานเสนอต่อผู้บริหาร
5.2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตัวอย่างที่ดี
- จัดหาหน่วยงานที่ดี กำหนดเป็นหน่วยงานตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
- ประสานงานและกำหนดวัน หลักสูตรจัดกิจกรรม
- ประชุมชี้แจงการดูงาน หลักสูตร 1 วัน
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวอย่าง/ประสบการณ์ที่ดี ณ ศูนย์เรียนรู้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล/พื้นที่/หน่วยงานอื่นที่ดี อย่างน้อย 2 แห่งจำนวน 3 วัน 2 คืน
- ประชุมสรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานต่อผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
5.3 จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงานทุกกิจกรรและ/หรือถอดบทเรียนกองทุน
5.4 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566- กันยายน 2567) จำนวน 366 วัน
สถานที่ดำเนินการ
สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต และพื้นที่ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต
งบประมาณ
จำนวน .......1,158,720...... บาท รายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 จ้างเหมาบริการเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกองทุนฯ เป็นเงิน 391,820 บาท
1. ค่าจ้างเหมาบริการ (ชั่วคราว) ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข
จำนวน 1 คนจำนวน 12 เดือน(เดือนละ 15,000 บาท) เป็นเงิน 180,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมาบริการ (ชั่วคราว) ในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
จำนวน 1 คนจำนวน 12 เดือน(เดือนละ 13,285 บาท) เป็นเงิน 159,420 บาท
3. ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
- (จนท. การเงิน 1 คน X 12 เดือน X 2,000 บาท)
- (คณะทำงาน 12เดือน X 2,000 บาท)
- (คณะทำงาน 1 คน x 22 ครั้ง X 200 บาท) เป็นเงิน 52,400 บาท
กิจกรรมที่ 2ประชุมคณะกรรมการกองทุน/ที่ปรึกษา/อนุกรรมการ/คณะทำงานเป็นเงิน 162,500 บาท
1. ค่าตอบแทนกรรมการ

1.1 คณะกรรมการกองทุนฯและผู้เกี่ยวข้อง (26คนX 400 บาท X 5 ครั้ง) เป็นเงิน 52,000 บาท
1.2 คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ
ที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้เกี่ยวข้อง (10คนX 300 บาท X 5 ครั้ง) เป็นเงิน 15,000 บาท
1.3 คณะอนุกรรมการฯ ด้านแผนงานและพิจารณาโครงการ และผู้เกี่ยวข้อง
(17คนX 300 บาท X 5 ครั้ง) เป็นเงิน 25,500 บาท
1.4 คณะอนุกรรมการฯ ด้านประเมินผล และผู้เกี่ยวข้อง
(11คนX 300 บาท X 5 ครั้ง) เป็นเงิน 16,500 บาท
1.5 คณะอนุกรรมการฯ ด้านประชาสัมพันธ์และผู้เกี่ยวข้อง
(10คนX 300 บาท X 5ครั้ง) เป็นเงิน 15,000 บาท
1.6คณะอนุกรรมการฯ ด้านการเงินและผู้เกี่ยวข้อง
(7คนX 300 บาท X 1ครั้ง) เป็นเงิน 2,100 บาท
1.7 คณะทำงาน จำนวน 19 คนๆ ละ 200 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน (15 คน X50 บาท X2 มื้อ) เป็นเงิน 1,500 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (145 คน X25 บาท X 1 มื้อ X 5ครั้ง) เป็นเงิน 18,125 บาท
4. ค่าโทรศัพท์ เป็นเงิน 8,400 บาท
5. ค่าใช้จ่ายอื่น เป็นเงิน 775 บาท
กิจกรรมที่ 3ประชาสัมพันธ์กองทุนฯ เป็นเงิน297,500 บาท
1. ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (จุลสาร,ใบปลิว,ไวนิล ฯลฯ) เป็นเงิน 140,000 บาท
2. ค่าบูธนิทรรศการ 1 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าจัดทำรายงานกิจการกองทุนฯ (500 เล่ม x 300บาท)
เป็นสื่อโซเชียล(รวมทุกโครงการ) เป็นเงิน 150,000 บาท
4. ค่าเช่าโดเมนเนม เป็นเงิน 2,500 บาท
กิจกรรมที่ 4จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ
เป็นเงิน68,900บาท
1. ค่าครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่(เครื่องมัลติมีเดียโปรเจกเตอร์ 3500 Lumens) เป็นเงิน 27,900 บาท
2. ค่าครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์(เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน เลเซอร์ หรือ LED สี) เป็นเงิน 16,000 บาท
3. ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ เป็นเงิน 5,000 บาท
4. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 15,000 บาท
5. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 5,000 บาท
กิจกรรมที่ 5พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ เป็นเงิน 238,000 บาท
1. ค่าเช่าเหมารถโดยสารปรับอากาศ (15,000 บ. X 4 วัน x 1 คัน) เป็นเงิน 60,000 บาท
2. ค่าเช่าที่พัก (40 คน x 3 คืน x 750 บ.) เป็นเงิน 90,000 บาท
3. ค่าเบี้ยเลี้ยง (40 คน x 4 วัน x 240 บ.) เป็นเงิน 38,400 บาท
4. ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าวัสดุประกอบการอบรม เป็นเงิน 5,000 บาท
6. ค่าของที่ระลึก เป็นเงิน 5,000 บาท
7. ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดอบรม เป็นเงิน 20,000 บาท
8. ค่าสมนาคุณวิทยากร (1,200 บ. x 6 ชม.) เป็นเงิน 7,200 บาท
9. ค่าเช่าสถานที่ (5,000 บ. x 2 วัน) เป็นเงิน 10,000 บาท
10. ค่าใช้จ่ายอื่น เป็นเงิน 1,900 บาท
(ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่าย)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
2. สามารถบันทึกข้อมูลและรายงานผ่านระบบออนไลน์ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
3. กองทุนเป็นกองทุนที่มีศักยภาพสูงและเป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับประเทศ
4. ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต มีการรับรู้และเข้าใจการดำเนินงานของกองทุนฯ
5. ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครภูเก็ต ขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต เพิ่มขึ้น
6. มีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานของกองทุนฯอย่างเพียงพอ
7. การปฏิบัติงานเกิดความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพรวดเร็ว
8. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้จากการพัฒนาศักยภาพมาพัฒนางานกองทุนฯ
9. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีจากกองทุนอื่น
Copyrights © 2019 ลิขสิทธิ์ถูกต้อง 2562 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครภูเก็ต เวอร์ชั่น 1.0.0
บราวเซอร์ที่รองรับ Chrome (แนะนำ) Firefox Safari และ IE 9 ขึ้นไป